เมนู

ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ 14


[700] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) ข้าพระองค์ขอทูลถาม
พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้สงัด แสวงหาคุณ
ใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว จึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขาร
อะไรในโลก ย่อมดับ.


ว่าด้วยปุจฉามี 3 อย่าง


[701] ชื่อว่า ปุจฉา ในคำว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
ปุจฉามี 3 อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา 1
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา 1 วิมติฉทนาปุจฉา 1.
ทิฏฐโชตนาปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะใดที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่
พิจารณา ไม่เทียบเคียง ไม่กระจ่าง ไม่แจ่มแจ้งโดยปกติ บุคคลย่อม
ถามปัญหาเพื่อจะรู้ เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อเทียบเคียง เพื่อกระจ่าง
เพื่อแจ่มแจ้งซึ่งลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉาเป็นไฉน ลักษณะใดที่รู้ เห็น พิจารณา
เทียบเคียง กระจ่าง แจ่มแจ้งแล้วโดยปกติ บุคคลย่อมถามเพื่อต้องการ
สอบสวนลักษณะนั้นกับบัณฑิตอื่น ๆ นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.
วิมติเฉทนาปุจฉาเป็นไฉน บุคคลเป็นผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง
สงสัยเป็นสองทางว่า เป็นอย่างนี้หรือหนอ หรือไม่เป็นอย่างนี้ เป็นอะไร
หนอ หรือเป็นอย่างไร บุคคลนั้นถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความเคลือบ-
แคลงสงสัย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา ปุจฉามี 3 อย่างนี้.

ปุจฉาอีก 3 อย่าง คือ มนุสสปุจฉา 1 อมนุสสปุจฉา 1 นิมมิต-
ปุจฉา 1.
มนุสสปุจฉาเป็นไฉน มนุษย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา คือพวกภิกษุย่อมทูลถาม พวกภิกษุณีย่อม
ทูลถาม พวกอุบาสกย่อมทูลถาม พวกอุบาสิกาย่อมทูลถาม พระราชาย่อม
ทูลถาม กษัตริย์ย่อมทูลถาม พราหมณ์ย่อมทูลถาม แพศย์ย่อมทูลถาม
ศูทรย่อมทูลถาม คฤหัสถ์ย่อมทูลถาม บรรพชิตย่อมทูลถาม นี้ชื่อว่า
มนุสสปุจฉา.

อมนุสสปุจฉาเป็นไฉน พวกอมนุษย์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมทูลถามปัญหา คือนาคย่อมทูลถาม ครุฑย่อมทูลถาม
ยักษ์ย่อมทูลถาม อสูรย่อมทูลถาม คนธรรพ์ย่อมทูลถาม ท้าวมหาราช
ย่อมทูลถาม พระอินทร์ย่อมทูลถาม พรหมย่อมทูลถาม เทวดาย่อมทูล
ถาม นี้ชื่อว่าอมนุสสปุจฉา.
นิมมิตปุจฉาเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิตพระพุทธรูป
ใด อันสำเร็จด้วยพระหฤทัย มีอวัยวะครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่วิการ
พระพุทธนิมิตนั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว ตรัสถาม
ปัญหา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนา นี้ชื่อว่านิมมิตปุจฉา ปุจฉามี
3 อย่างนี้.
ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือ การถามถึงประโยชน์ตน 1 การถามถึง
ประโยชน์ผู้อื่น 1 การถามถึงประโยชน์ทั้งสองอย่าง 1.
ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือการถามถึงประโยชน์ในภพนี้ 1 การถาม
ถึงประโยชน์ในภพหน้า 1 การถามถึงประโยชน์อย่างยิ่ง 1.

ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือการถามถึงประโยชน์ไม่มีโทษ 1 การ
ถามถึงประโยชน์ไม่มีกิเลส 1 การถามถึงประโยชน์แห่งธรรมขาว 1.
ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือการถามถึงธรรมส่วนอดีต 1 การถามถึง
ธรรมส่วนอนาคต 1 การถามถึงธรรมส่วนปัจจุบัน 1.
ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือการถามถึงธรรมเป็นภายใน 1 การถาม
ถึงธรรมเป็นภายนอก 1 การถามถึงธรรมทั้งเป็นภายในและภายนอก 1.
ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือการถามถึงกุศลธรรม 1 การถามถึง
อกุศลธรรม 1 การถามถึงอพยากตธรรม 1.
ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือการถามถึงขันธ์ 1 การถามถึงธาตุ 1
การถามถึงอายตนะ 1.
ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือการถามถึงสติปัฏฐาน 1 การถามถึง
สัมมัปปธาน 1 การถามถึงอิทธิบาท 1.
ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือการถามถึงอินทรีย์ 1 การถามถึงพละ 1
การถามถึงโพชฌงค์ 1.
ปุจฉามีอีก 3 อย่าง คือการถามถึงมรรค 1 การถามถึงผล 1
การถามถึงนิพพาน 1.
คำว่า ขอทูลถามพระองค์ ความว่า ขอทูลถาม ขออ้อนวอน
ขอเชื้อเชิญ ขอวิงวอนว่า ขอได้โปรดตรัสบอกธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถามพระองค์.
คำว่า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ความว่า พระสุริยะ เรียกว่า
พระอาทิตย์ พระอาทิตย์เป็นโคดมโดยโคตร แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็
เป็นโคดมโดยพระโคตร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏโดยโคตรพระอาทิตย์

เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถามพระองค์ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์.

ว่าด้วยวิเวก 3 อย่าง


[702] ชื่อว่า วิเวก ในคำว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณ
ใหญ่
ดังนี้ วิเวกมี 3 อย่าง คือ กายวิเวก 1 จิตตวิเวก 1 อุปธิวิเวก 1.
กายวิเวกเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอัน
สงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ เธอเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้
เดียว เข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่หลีกเร้นผู้เดียว
อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ผู้เดียวเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา นี้ชื่อว่ากายวิเวก.
จิตตวิเวกเป็นไฉน ภิกษุบรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุ
ทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุ
จตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิต
สงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และมานัตตสัญญา บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นพระโสดาบัน
มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจ-
ฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
เป็นพระสกทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์